JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0
 ยินดีต้องรับเข้าสู่ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ แสนสิริ โฮม แคร์  ทุกวัน 8.00 - 20.00   |   Call Center : 090-569-7945 , 096-405-1562   |   Map & Locations
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2016-02-24
จำนวนสมาชิก : 11 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-02-25
จำนวนครั้งที่ชม : 1,190,201 ครั้ง
Online : 99 คน

Blenderized Formula

2021-01-03 00:57:28 ใน เรื่องน่ารู้ในผู้สูงอายุ » 0 11812 Blenderized Formula   sansiri homecare

การให้อาหารทางท่อให้อาหาร (Tube Feeding) เป็นการให้อาหารที่มีลักษณะเป็นของเหลวเข้าสู่ระบบทางเดิน อาหาร โดยผ่านทางท่อสาย ยาง ดังนี้ Nasogastric Tube เป็นตำแหน่งที่นิยมใส่มากที่สุด ใส่ง่าย ใช้ในรายที่ใส่ ไม่นาน ปัญหาอาจมีการสำลักได้ Orogastric Tube ให้ในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของจมูก เนื่องจากได้รับ บาดเจ็บ หรือในผู้ป่วยทารก เด็ก Nasoduodenal และ/หรือ Nasojejunal Tube ใช้ในกรณีผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มการสำลักอาหารได้ง่าย
ประเภทของสูตรอาหาร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
  1.  สูตรนมเป็นหลัก (Milk – base formula) ส่วนประกอบหลัก มาจากนม และผลิตภัณฑ์จากนม สูตรนี้ไม่เหมาะให้ผู้ป่วยผู้ใหญ่ เนื่องจากขาดน้ำย่อยแลคเตส (Lactase) เกิดปัญหา Lactose intolerance มีอาการท้องเดิน
  2.  สูตรอาหารปั่นผสม (Blenderized Formula) เป็นสูตรที่นำอาหารหลายประเภทมาปั่นผสมให้ละเอียด จัดเตรียมได้ง่าย ราคา ถูก สามารถแนะน ให้ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้อาหารปั่นเป็นระยะ เวลานาน จัดเตรียมได้เอง( การเตรียมอาหารกล่าวในเรื่องต่อไป)
 
การกำหนดจำนวนพลังงานที่ควรได้รับ มีหลักการคำนวณดังนี้ (มีตัวอย่างการคำนวน)
25 – 30 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมต่อวัน กรณีต้องการให้ลด น้ำหนัก
30 – 35 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมตำอวัน เพื่อคงสภาพน้ำหนักที่ พอเหมาะ
35 – 40 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมต่อวัน เพื่อเพิ่มน้ำหนักในรายที่ มีน้ำหนักน้อย
30 – 40 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัมต่อวัน เป็นปริมาณที่ผู้ป่วยควรได้รับต่อวัน( วัน แต่ถ้ามีการสูญเสียน้ าหนักมากจากการอาเจียน ท้องเดิน เสียเลือดหรือมีท่อระบายควรให้เพิ่มเพื่อทดแทน )
วิธีการให้อาหาร
 1. จำนวนมื้อและปริมาณอาหารที่ให้ ให้วันละ 4 – 8 ครั้ง ประมาณที่ให้ไม่ควรเกิน 350 มิลลิลิตร เมื่อสิ้นสุดการให้ในแต่ละครั้งควรให้น้ำตาม 50 – 100 มิลลิลิตร เพื่อเป็นการล้างสายให้อาหารไม่บูดเน่าในสายหรือทำให้ สายอุดตันได้
 2.  การให้อาหารท่อสายยางครั้งแรก ควรมีการทดสอบโดยเริ่มให้ น้ำประมาณ 50 มิลลิลิตร หลังจากนั้น 1 ชั่วโมงตรวจสอบดูว่ามีการดูดซึมน้ำที่ให้หรือไม่ ถ้าดูดซึม ได้ดีจึงพิจารณาเริ่มให้อาหารได้ อาหารที่ให้ครั้งแรกควรเจือจางความ เข้มข้นให้เหลือแค่ครึ่งสูตร คือให้ผสมน้ำ 1 เท่าตัว เพื่อดูการรับได้ก่อน พิจารณาให้เต็มสูตรต่อไป
 3.  ความสะอาดของอาหารในการจัดเตรียมต้องคำนึงถึงความ ปลอดภัยของอาหารไม่ให้ อาหารปนเปื้อนเชื้อโรคต่างๆ ที่ควรระวัง เช่น การเตรียมอาหารโดยใช้ไข่ ดิบ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ซาลโมเนลลา (Salmonella) ทำให้ผู้ป่วย ท้องเดินได้
 4.  ความหนืดที่พอเหมาะ ถ้าอาหารมีความหนืดมากเกินไป จะทำให้ผ่านสายได้ไม่ดี หรือ ถ้าอาหารเหลวเกินไป จะไหลผ่านสายอย่างรวดเร็วทำให้ผู้ป่วยไม่สุข สบาย ปวดเกร็งในช่องท้อง และท้องเดินได้
 5.  อุณหภูมิอาหาร อาหารที่ให้ควรมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับ อุณหภูมิห้อง ถ้าเย็นมากเกินไป ควรอุ่น เพื่อให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้อง ป้องกันการเกิดอาการ คลื่นไส้อาเจียนได้
 
 
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ในผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางท่อสายยาง
1.  ท้องเดิน (Diarrhea) อาจเกิดจากการเตรียมอาหารที่ไม่สะอาด เกิดการปนเปื้อนเชื้อ การ ให้ในอัตราที่เร็วเกินไป อาหารเย็นเกินไป อาหารที่ให้มีความเข้มข้นของ อาหารเหลวที่ให้มากเกินไป อาหารมีปริมาณไขมันสูงเกิน 20 กรัมต่อลิตร หรือในรายที่มีปัญหาขาดน้ าย่อยแลคเตส
2.  ภาวการณ์ขาดน้ า (Dehydration) อาจเป็นผลต่อเนื่องจาก ปัญหาท้องเดิน หรือในรายที่ ได้อาหารเข้มข้นสูง นอกจากจะสูญเสียน้ าจากอาการท้องเดินแล้ว ร่างกายยังต้องการน้ าเพิ่มเพื่อมาเจือจางอาหารที่เข้มข้นเกินไป และใน รายที่ได้โปรตีนในปริมาณมากเกินไป จะท าให้เกิดปัญหาขาดน้ำได้
3.  การส าลัก (Aspirate) ในผู้ป่วยที่ให้อาหารทางท่อสายยาง ต้องระวังเกี่ยวกับอาการส าลัก โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวและได้รับอาหารทาง Nasogastric Feeding จะเสี่ยงอันตรายมากเพราะจะเข้าไปที่หลอดลมลงสู่ปอดเกิดภาวะปอด อักเสบจากการส าลัก (Aspirate Pneumonia)
4.  ภาวะทุพโภชนาการ เกิดได้ 2 ลักษณะ คือ
  4.1 เป็นโรคขาดสารอาหาร (Malnutrition) พบได้ในผู้ป่วยที่ ได้รับอาหารผ่านท่อ สายยางเป็นระยะเวลานาน แต่ได้รับอาหารที่มีปริมาณไม่เพียงพอกับ ความต้องการของร่างกาย หรือได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่ ครบถ้วน ที่พบบ่อย คือได้อาหารที่เป็นแหล่งพลังงานไม่เพียงพอ อาจท า ให้ขาดวิตามิน และเกลือแร่ ที่พบบ่อยคือภาวะโซเดียมต่ำ เป็นต้น
  4.2 โรคอ้วน (Obesity) ผู้ป่วยที่ได้อาหารทางท่อสายยาง ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ต้อง นอนพักบนเตียง ไม่ค่อยมีกิจกรรมการเคลื่อนไหว ดังนั้นเมื่ออยู่ในช่วงพัก ฟื้น ควรปรับลดปริมาณของพลังงานให้ลดลง เพื่อป้องกันปัญหาการ ได้รับโภชนาการเกินจนเกิดโรคอ้วนได้ การประเมินผลภาวะโภชนาการของผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางสายให้ อาหาร ในผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางสายให้อาหารทุกรายที่ต้องแบบต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานานตั้งแต่ 1 สัปดาห์ขึ้นไป ควรมีการตรวจสอบภาวะ โภชนาการของผู้ป่วยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันปัญหาภาวะ โภชนาการเกินหรือขาดได้ ถ้าการให้อาหารมีประสิทธิผลดี น้ำหนักตัว ควรคงที่ในระยะแรกและค่อยๆเพิ่มขึ้น อาการแสดงของการขาด สารอาหารจะค่อยๆ หายไป บาดแผลที่มีก็ควรดีขึ้น รวมทั้งติดตามผลการ ตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ เป็นต้น
 

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์