2017-12-27 00:24:05 ใน เรื่องน่ารู้ในผู้สูงอายุ » 0 46279
โรคไตเสื่อมเป็นอย่างไร
หมายถึงโรคที่ทำให้มีการสูญเสียเนื้อไตและมีการเสื่อมของการทำงานของไตอย่างช้าๆ อาจจะใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี เมื่อไตเสื่อมมากก็จะเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น บวม ซีดเป็นต้น
ในการประเมินจะเป็นโรคไตหรือไม่แพทย์จะสั่งตรวจเลือดเพื่อหาค่า
- Creatinine เพือประเมินการทำงานของไต
- ตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจว่ามีโปรตีน หรือเม็ดเลือดแดงหรือตะกอนหรือไม่
- ตรวจทางรังสีเพือดูโครงสร้างของไต
เมื่อได้ผลตรวจจึงมาประเมินว่าเป็นโรคไตหรือไม่ โดยพิจารณาจากลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งในสองข้อต่อไป
- ผู้ป่วยมีภาวะไตผิดปกตินานติดต่อกันเกิน 3 เดือนทั้งนี้ผู้ป่วยอาจจะมีอัตรากรองของไต(glomerular filtration rate, GFR)ผิดปกติหรือไม่ก็ได้ ภาวะไตผิดปกติหมายถึงลักษณะตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
- ตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจปัสสาวะอย่างน้อยสองครั้งในระยะ 3 เดือนดังต่อไปนี้
- ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ
- ถ้าเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้วตรวจพบไข่ขาวในปริมาณเล็กน้อย microalbuminuria (อยู่ระหว่าง 30-200 microgram/day)
- หากผู้ป่วยไม่ได้เป็นเบาหวานและตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 500 mg/วัน
- ตรวจพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ hematuria
- ตรวจพบความผิดปกติทางรังสีวิทยา
- ตรวจพบความผิดปกติทางโครงสร้างหรือพยาธิสภาพ
- ผู้ที่มีGFRน้อยกว่า 60 mL/min/1.73m2ติดต่อกันเกิน 3 เดือนโดยที่อาจจะตรวจพบหรือไม่พบร่องรอยโรคก็ได้
จากนิยามจะเห็นได้ว่าการเป็นโรคไตเรื้อรังตามข้อ 1 พบว่าการทำงานของอาจจะปกติหรือผิดปกติก็ได้ สิ่งผิดปกติที่พบคือการตรวจปัสสาวะพบความผิดปกติ หากความผิดนั้นแก้ไขได้ก็จะไม่เป็นโรคไตเรื้อรัง สำหรับโรคไตตามข้อ2ไตได้ทำงานลดลงแล้วจะต้องรักษาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไต
การประเมินความรุนแรงหรือระยะของโรคไต
เมื่อแพทย์บอกท่านว่าเป็นโรคไตผู้คนส่วนใหญ่จะกังวล หลับตาจะเห็นภาพคนป่วยที่มีอาการบวม ซีด มีการฟอกไตไม่ว่าจะทางหน้าท้อง หรือทางเส้นเลือด แต่ในความเป็นจริงเมื่อแพทย์บอกว่าเป็นโรคไตท่านต้องถามแพทย์ว่าเป็นโรคอะไร อยู่ในระยะไหน เพราะคำว่าโรคไตหมายถึงโรคซึ่งเริ่มเป็น หากทราบแต่ระยะแรกก็มีการรักษาเพื่อชะลอการเสื่อมของโรคไต หรือโรคไตบางโรคสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยทั่วไปจะแบ่งโรคไตออกเป็น 5 ระดับโดยอาศัยการตรวจปัสสาวะและการตรวจเลือด
ระยะของโรคไต |
คำอธิบาย |
GFR |
1 |
ไตได้รับความเสียหาย แต่อัตราการกรองยังดี |
>90 |
2 |
ไตได้รับความเสียหาย อัตราการกรองลดลงเล็กน้อย |
60-90 |
3 |
อัตราการกรองลดลงปานกลาง |
30-59 |
4 |
อัตราการกรองลดลงมาก |
15-29 |
5 |
ไตวาย |
<15 |
ควรมีการติดตามระดับการทำงานของไตโดยการตรวจค่า eGFR และการตรวจปัสสาวะโดยมีความถี่ในการตรวจแบ่งตามระยะของโรคไตเรื้อรังได้ ดังนี้
- โรคไตเรื้อรังระยะที่ 1 และ 2 ติดตามอย่างน้อยทุก 12 เดือน (ทุก 6 เดือน ถ้าตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ)
- โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ติดตามอย่างน้อยทุก 6 เดือน (ทุก 12 เดือน ถ้าระดับการทำงานของไตคงที่และตรวจไม่พบโปรตีน ในปัสสาวะ)
- โรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 ติดตามอย่างน้อยทุก 3 เดือน (ทุก 6 เดือน ถ้าระดับการทำงานของไตคงที่)
- โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ติดตามอย่างน้อยทุก 3
สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง
การแบ่งสาเหตุของโรคไตอาจจะแบ่งได้หลายแบบ ที่นิยมกันจะแบ่งตามสาเหตุ
- โรคไตที่เกิดจากกรรมพันธ์ซึ่งสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานได้ อาการมักจะเกิดตั้งแต่วัยรุ่น เช่นโรค polycystic kidney disease.
- โรคที่พิการแต่กำเนิด มักจะทำให้การขับปัสสาวะถูกอุดกกลั้นซึ่งจะก่อให้เกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบ หากอุดกลั้นมากๆไตจะบวมและอาจจะเกิดไตวาย
- โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ผู้ที่เป็นโรคจะมีอาการปวดเอว ปัสสาวะสีแดง อ่านเรื่องโรคนิ่วที่นี่
- ต่อมลูกหมากโตมีการอุดกลั้นของปัสสาวะทำให้ไตวายได้
- โรค Nephrotic Syndrome เป็นโรคที่เกิดจากไตเองหรือเกิดจากร่างกายมีโรคอื่น ไข่ขาว (Albumin)ซึ่งปกติจะไม่สามารถซึมผ่านท่อไตได้ แต่ผู้ป่วยโรคนี้จะมีการรั่วของไตทำให้ไข่ขาวและสารอื่นรั่วออกจากไต ทำให้เกิดการบวม ไขมันในเลือดสูง
- โรคไตที่เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากคนที่เป็นความดันโลหิตสูงนานๆจะทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ ทำให้เกิดโรคไตวาย
- โรคไตที่เกิดจากโรคเบาหวาน เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด
- ยา ยาแก้ปวด หรือสารพิษบางชนิดก็ทำให้เกิดโรคไต
- โรตไตอักเสบ Glomerulonephritis
- โรคแพ้ภูมิตนเอง (autoimmune diseases) เช่นโรค SLE หนังแข็ง ที่อาจก่อให้เกิดไตผิดปกติ
- โรคติดเชื้อในระบบ (systemic infection) ที่อาจก่อให้เกิดโรคไต
- โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease)
- โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำหลายครั้ง
- อายุมากกว่า 60 ปีขึ้น
การรักษาไตวาย
เป้าหมายของการรักษา
ผู้ป่วยโรคไตทุกท่านจะต้องทราบหลักการ และเป้าหมายของการรักษาเพื่อที่จะได้ร่วมมือกับแพทย์ เพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เป้าหมายที่สำคัญคือ
- ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต หรือผู้ที่ตรวจเบื้องต้นแล้ว พบว่าเป็นโรคไตจะต้องได้รับการคัดกรองและส่งปรึกษาหรือส่งต่อ เพื่อให้การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังได้ในระยะแรกของโรค และส่งปรึกษาหรือส่งต่ออายุรแพทย์โรคไตได้อย่างเหมาะสม
- เมื่อเป็นโรคไตและไตเริ่มเสื่อมการรักษาจะ ชะลอการเสื่อมของไตเท่านั้นทั้งนี้ เพื่อป้องกันหรือยืดระยะเวลาการเกิดภาวะแทรกซ้อน
ของโรคไตเรื้อรังและความจำเป็นในการบำบัดทดแทนไต
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายจะพบว่ามีโรคแทรกซ้อน การประเมินและรักษาภาวะแทรกซ้อนของโรคไตเรื้อรัง จะป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
- ผู้ที่เป็นโรคไตวายมักจะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดร่วมด้วย การรักษาด้วยการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจะป้องกันการเกิดและลดการเสียชีวิตจาก โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สำคัญ ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
- เมื่อไตวายมากจะไม่สามารถกรองของเสียหรือขับน้ำ เตรียมผู้ป่วยเพื่อการบำบัดทดแทนไต เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้รับการ
เตรียมพร้อมสำหรับการบำบัดทดแทนไตในระยะเวลาที่เหมาะสม
การดูแลตัวเองที่บ้าน
เมื่อท่านทราบว่าท่านเป็นโรคไตท่านต้องร่วมมือกับแพทย์ในการดูแลตัวเองเพื่อชะลอโรคและป้องกันการเสื่อมของไต
- ท่านจะต้องจำกัดอาหารประเภทโปรตีนให้เหมาะสมกับความรุนแรงของโรคของท่าน การลดปริมาณโปรตีนจะชะลอการเสื่อมของไตอ่านเรื่องอาหารสำหรับโรคไต
- การรลดปริมาณเกลือหรืออาหารเค็มจะทำให้ท่านไม่บวม
- ปริมาณน้ำที่ดื่มต้องเหมาะสม การดื่มน้ำมากๆไม่ได้ช่วยชะลอการเสื่อมของไต
- สำหรับผู้ที่ไตเสื่อมมากจะต้องระวังอาหารที่มีโพแทสเซี่ยมสูงเพราะไตหากขับโพแทสเซี่ยมไม่ได้จะเป็นอันตราย
- อาหารที่มี phosphorus สูงก็ต้องจำกัด
- หยุดสูบบุหี่
- สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกินต้องลดน้ำหนัก
- ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID หากไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยง
- การสวนอุจาระด้วยลูกสวนเพราะจะทำให้ Phosphate สูง
- การรับประทานยาระบายที่มีส่วนประกอบของแมกนีเซี่ยม และอลูมิเนี่ยม
- หากท่านเป็นโรคกระเพาะและรับประทานยาลดกรดเช่น cimetidine,ranetidine จะต้องขนาดของยา
- ยาแก้หวัดที่มีส่วนผสมของ psudoephedine เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูง
- สมุนไพรต่างๆจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
-
การรักษาต้องรักษาปัจจัยที่ทำให้ไตเสื่อมมากขึ้นเช่น ภาวะขาดน้ำยาที่มีพิษต่อไต หัวใจวายการติดเชื้อหลักการรักษาไตวายประกอบด้วย
- การควบคุมอาหารสำหรับโรคไต
- หลีกเลี่ยงสารที่เป็นพิษต่อไต
- การลดไข่ข่าวในปัสสาวะ
- การควบคุมความดันโลหิต
- การควบคุมระดับน้ำตาลและไขมัน
- การรักษาแคลเซี่ยมในเลือด
- การดูแลภาวะโลหิตจาง
- การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
- การล้างไตผ่านทางท้อง
- การเปลี่ยนไต
- การออกกำลังกายในผู้ป่วยไตวาย การตรวจการทำงานของไต
- การป้องกันโรคหัวใจการดูแลภาวะไตวาย