JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0
 ยินดีต้องรับเข้าสู่ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ แสนสิริ โฮม แคร์  ทุกวัน 8.00 - 20.00   |   Call Center : 090-569-7945 , 096-405-1562   |   Map & Locations
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2016-02-24
จำนวนสมาชิก : 11 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-09-10
จำนวนครั้งที่ชม : 1,342,571 ครั้ง
Online : 54 คน

ความบกพร่องทางภาษาหรืออะเฟเซีย(Aphasia) มี 4 ประเภท(ต่อ)

2018-01-21 21:24:21 ใน เรื่องน่ารู้ในผู้สูงอายุ » 0 31122

(ต่อ)
ความบกพร่องทางภาษาหรืออะเฟเซีย(Aphasia) มี  4 ประเภทคือ
 

  1. ความบกพร่องทางด้านความเข้าใจ (Sensory or Receptive aphasia) ผู้ป่วยมีปัญหาในการ ฟังคำพูดไม่เข้าใจ เป็นหลัก
  2. ความบกพร่องทางด้านการพูด (Motor or Expressive aphasia) ผู้ป่วยมีปัญหาด้านการพูด การพูดไม่ชัด การพูดตาม เป็นปัญหาหลัก
  3. ความบกพร่องทั้งด้านความเข้าใจและการพูด (Global aphasia) ผู้ป่วยมีปัญหาทั้งด้านความเข้าใจและการพูด เป็นหลัก
  4. ความบกพร่องด้านนึกคำพูด (Amnesic aphasia) ผู้ป่วยมีปัญหาในคิดคำพูดลำบาก ใช้คำพูดอื่นแทนคำที่ต้องการพูด เช่น น้ำแทนแก้วน้ำ เครื่องทำน้ำเย็น   แทนตู้เย็น เป็นต้น
 



 
     การประเมินปัญหาทางการพูดและทางภาษา

ด้านความเข้าใจ                                                             
                
ทำได้ ทำไม่ได้ การพัฒนาภาษาด้านความเข้าใจ
    1.มีการตอบสนองต่อสิ่งที่ได้ยิน
    2.มีการสนใจต่อเสียงพูดเมื่อได้ยินเสียงพูด
    3.รู้จักชื่อตัวเองและมีการตอบสนองต่อคนที่คุ้นเคย  เข้าใจคำห้าม “อย่า” “หยุด”
    4.สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ เช่น. สวัสดี บ๊ายบาย ยิ้ม
    5.หยิบหรือชี้สิ่งของ สัตว์เลี้ยง บุคคลที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน เช่น หยิบ ชี้เสื้อ รองเท้า
    6.ชี้อวัยวะของร่างกายได้อย่างถูกต้อง
    7.เข้าใจประโยค ปฏิบัติตามคำสั่งที่ซับซ้อน เช่น ทำตามคำสั่ง วางช้อนบนโต๊ะ หรือหยิบรูปภาพ.     ตามคำบอก
    8.รู้จักหน้าที่ของสิ่งของ. คำกริยา คุณศัพท์ คำบุพบท และเรื่องเล่าง่ายๆ เช่น วิ่ง ล้างจาน ทำอาหาร
    9.เข้าใจประโยคที่มี 2 ขั้นตอน เช่น ตบมือแล้วสวัสดี  เอาช้อนไว้ใต้โต๊ะ
    10.เข้าใจประโยคที่มี 3 ขั้นตอน เช่น ไปห้องน้ำ หยิบแปรง มาให้แม่
   

การประเมินภาษาด้านการพูด    
ทำได้ ทำไม่ได้ การพัฒนาภาษาด้านการพูด
    1.ส่งเสียงแบบปฏิกิริยาสะท้อน เช่น โอ้ โอ๊ย
    2.ส่งเสียงเรียกเฉพาะเรียกคนใกล้ชิด
    3.พูดเสียงที่ไม่มีความหมายโต้ตอบกับผู้อื่น
    4.พูดตามคำเดี่ยวๆได้น้อยกว่า 10 คำ
    5.พูดบอกความต้องการง่ายๆ ได้ เช่น “เอา” “ไป” พูดคำนามได้ประมาณ 10-20 คำ
    6.พูดเป็นวลี ประโยคยาว2 พยางค์/คำ บอกชื่อสิ่งของและบอกหน้าที่ของสิ่งของได้ พูดคำศัพท์ได้ 50 คำ
    7.พูดเป็นวลี ประโยคยาว 3 พยางค์ พูดโดยใช้คำนาม คำกริยา คำวิเศษณ์  คำสรรพนามได้
    8.พูดเป็นวลี ประโยคยาว 4 พยางค์/คำ
    9.พูดเป็นประโยคได้ยาว 5-6 คำ
    10.สามารถเล่าเรื่องที่คี้นเคยได้เองสามารถพูดเปรียบเทียบขนาดรูปร่างสิ่งต่างๆได้ เช่น ใหญ่กว่า ยาวกว่า เป็นต้น

ระดับความรุนแรงของความบกพร่องทางภาษา
 
  • ระดับรุนแรง:

    วัตถุประสงค์ของการฝึกพูด:

    ไม่สามารถสื่อสารได้ด้วยตัวเอง เช่น ไม่มีเสียงพูด หรือมีเสียงพูดแต่พูดไม่ได้เลย หรือพูดได้ 1-2 คำ ฟังไม่เข้าใจเลย หรือเข้าใจเพียงคำพูดง่ายๆ 1-2 คำ เข้าใจภาษาท่าทางบ้าง
    • ให้คำแนะนำ
    • ฝึกภาษาและการพูดง่ายๆในชีวิติประจำวัน
    • การสื่อสารทางเลือก เช่น การใช้รูปภาพ เครื่องช่วยพูด ฯลฯ
    • การสื่อสารด้านการทักทายทางสังคม
  • ระดับปานกลาง:

    วัตถุประสงค์ของการฝึกพูด:

    พูดไม่คล่อง ฟังเข้าใจเรื่องง่ายๆในชีวิตประจำวัน สามารถสื่อสารด้วยตัวเองได้บ้าง แต่คงแสดงความบกพร่องในการสื่อความหมายที่ชัดเจน เช่น พูดช้า พูดเฉพาะประโยคสั้นๆ พูดเฉพาะคำสำคัญของประโยค เหมือนภาษาโทรเลข หยุดพูดบ่อย นึกคิดคำพูดไม่ออก หยุดพูดเป็นช่วง เข้าใจคำพูด หรือเรื่องง่ายๆในชีวิตประจำวัน พูดโต้ตอบ หรือสื่อสารด้วยท่าทางได้ เข้าใจภาษาท่าทางได้ดี
    • ให้คำแนะนำ
    • ฝึกฟัง ฝึกพูด ฝึกอ่าน เขียนสะกดคำ
    • การสื่อสารในสังคม                                                                                                                                                                                                       ระดับน้อย:                                                                                                                                                                       วัตถุประสงค์ของการฝึกพูด:
    • พูดไม่คล่องเล็กน้อย ฟังเข้าใจเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวันได้ สามารถสื่อสารได้ด้วยตัวเองเป็นส่วนใหญ่ แต่คงแสดงความบกพร่องในการสื่อความหมายบางด้าน เช่น พูดช้า หยุดพูดเพราะนึกคิดคำพูดไม่ออก ใช้คำพูดบางคำไม่ถูกต้อง มีการใช้คำอื่นที่ใกล้เคียงพูดแทน พูดโต้ตอบ หรือสื่อสารด้วยท่าทางได้ เข้าใจภาษาได้ค่อนข้างดี                                                                                                                                     -ให้คำแนะนำ                                                                                                                                                                       -ฝึกฟัง ฝึกพูด ฝึกอ่าน เขียนสะกดคำ ทุกด้านเต็มที่เพื่อให้กลับไปสื่อสารในชีวิตประจำวัน และประกอบอาชีพอย่างเดิมได้                                       -การแก้ไขการสื่อสารในสังคมและชีวิตประจำวันให้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ระยะเวลาการรักษาความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาจากโรคสมอง
 
       การฝึกพูดได้ผลดี ถ้าหากได้รับการฝึกเต็มที่อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การฟื้นฟูสมรรถภาพของการพูดและภาษาจะได้ผลดี หากได้รับการฝึกอย่างเต็มที่อย่างต่อเนื่องจากนักแก้ไขการพูดในช่วง 1 ปีหลังมีความผิดปกติทางการพูดและทางภาษา โดยมีปัจจัยต่างๆ ดังนี้
    - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการพูดและทางภาษาจะได้ผลดีที่สุดภาย ใน 3 เดือนแรกหลังมีความผิดปกติ การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการพูดและทางภาษาจะได้ผลดีรองลงมา ถ้าเริ่มฝึก 3-6 เดือนแรกหลังมีความผิดปกติ
    -การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการพูดและทางภาษาจะได้ผลดีน้อยลงเมื่อฝึกพูดในระยะ 6-12 เดือนหลังมีความผิดปกติ
    -ความก้าวหน้าของการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการพูดและทางภาษามีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างน้อยเมื่อฝึกพูดหลังเกิดอาการ หลัง 1 ปี
อนึ่ง นักแก้ไขการพูดจะฝึกให้ผู้ป่วยมีการสื่อสารด้วยการพูดและ/หรือเลือกวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมตามความสามารถและศักยภาพของผู้ป่วยแต่ละคน ดังนั้นการแก้ไขปัญหาทางการพูดและทางภาษาควรได้รับการฟื้นฟูเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ทันทีที่สุขภาพของผู้ป่วยดีพอ ผู้ป่วยยิ่งมีความบกพร่องของสมองปริมาณน้อยเท่า ไรยิ่งมีโอกาสฟื้นตัวจากโรคได้มากและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น