2017-08-11 09:12:00 ใน เรื่องน่ารู้ในผู้สูงอายุ » 0 19692 ปัจจัยที่ทำให้เกิดแผลกดทับ
- การกดทับ โดยมีข้อสังเกตุดังนี้
1.1 บริเวณที่มีกล้ามเนื้อมากจะทนต่อแรงกดทับได้ดี
1.2 มีรายงานว่า แรงกดประมาณ 70 มม.ปรอท กดทับเป็นเวลา 1 - 2 ชั่วโมง ติดต่อกันจะทำให้เกิด
การขาดเลือดขึ้น
1.3 แรงกดจำนวนมากแม้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็ทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อได้ เท่ากับแรงกดน้อยๆ แต่
ระยะเวลานาน
1.4 แผลกดทับมักพบในผู้ป่วยอัมพาตช่วยเหลือตัวเองได้น้อย
- แรงไถและความเสียดทาน ซึ่งจะทำให้เกิดการปริแตกของเนื้อเยื่อได้ง่าย และมักจะพบในผู้ป่วยอัมพาตที่นั่ง
รถเข็น โดยเฉพาะเวลามีการเคลื่อนตัวบนรถเข็น
- อุณหภูมิ ผลของการเพิ่มอุณหภูมิ จะทำให้มีการเพิ่มของเมตาบอลิสซึมของเซลล์ ส่งเสริมให้เนื้อเยื่อขาด
เลือดและตายได้ง่ายขึ้น
- ความมีอายุ
- ภาวะทางโภชนาการ การขาดโปรตีนจะทำให้การเสริมสร้างเนื้อเยื่อช้าลง ส่งผลให้แผลหายช้า พบว่าผู้ป่วย
เหล่านี้ทำให้แผลหายช้าลง
- การบวมน้ำ ซึ่งจะเป็นตัวขัดขวางการส่งผ่านอาหาร และออกซิเจนจากเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงเซลล์ ทำให้เกิด
แผลกดทับได้ง่ายขึ้น และหายช้าลงด้วย
- ภาวะความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน
- ปัจจัยอื่นๆ เช่นความชื้นจากเหงื่อ อุจจาระ
การป้องกันแผลกดทับ และการพยาบาล
- ดูแลพลิกตะแคงตัว เปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะในรายที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยจัดให้ตะแคงซ้าย ตะแคงขวา นอนหงาย นอนคว่ำกึ่งตะแคง สลับกันไปตามความเหมาะสม ควรใช้หมอนหรือผ้านุ่มๆรองบริเวณที่กดทับ หรือปุ่มกระดูกยื่น เพื่อป้องกันการเสียดสีและลดแรงกดทับ
- ดูแลที่นอน ผ้าปูที่นอน ให้สะอาด แห้ง เรียบตึงอยู่เสมอ
- ควรใช้ที่นอนที่มีการถ่ายเทอากาศ เช่น ที่นอนลม ที่นอนน้ำ ที่นอนฟองน้ำ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ที่นอนที่การระบายอากาศไม่ดี เช่น ที่นอนหุ้มพลาสติก
- การยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ควรมีผ้ารองยก และใช้การยกในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเกิดการเสียดสี
- ดูแลผิวหนังผู้ป่วยให้สะอาด แห้งไม่อับชื้น เพราะถ้าผิวหนังเปียกชื้นหรือร้อนจะทำให้เกิดแผลเปื่อย ผิวหนังถลอกง่าย โดยเฉพาะอย่างภายหลังผู้ป่วยถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะแล้ว ต้องทำความสะอาดแล้วซับให้แห้ง และหากสังเกตพบว่าผู้ป่วยมีผิวหนังแห้งแตกเป็นขุย ควรดูแลทาครีมหรือโลชั่นทาผิวหนังที่ฉายรังสี
- ดูแลให้ผู้ป่วยออกกำลังกายตามความเหมาะสม เพื่อให้กล้ามเนื้อ หลอดเลือด และผิวหนังแข็งแรง มีการไหลเวียนของโลหิตดี
- ดูแลให้อาหารผู้ป่วยอย่างเพียงพอ คุณค่าทางโภชนาการครบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนจำเป็นอย่างมากต่อผู้ป่วยที่มีแผลกดทับเพราะผู้ป่วย จะสูญเสียโปรตีนไปทางแผลทำนวนมาก น้ำอย่างสมดุลย์ด้วย
- ดูแลทำความสะอาดแผลโดยวิธีปราศจากเชื้อ มีแนวทางปฎิบัติ ดังนี้
8.1 การทำความสะอาดแผลที่อยู่ในระยะงอกขยาย
- ควรล้างแผลเบาๆ ควรทำเฉพาะผิวหนังรอบๆ แผลเท่านั้น หลีกเลี่ยงการขัดถูแผล
- น้ำยาที่ใช้ล้างแผลต้องไม่มีพิษต่อเซลล์ ได้แก่ น้ำเกลือนอร์มัล ส่วนน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น Povidone - Iodine , Chlorhexidine, Dekin- solution, Hydrogen peroxide ไม่ควรใช้ในระยะงอกขยาย เพราะจะทำลายเซลล์ที่จำเป็นในซ่อมแซมแผล ทำให้แผลหายช้า
8.2 การทำความสะอาดแผลติดเชื้อหรือแผลเนื้อตาย
- ใช้การชะล้างแผลด้วยความดันสูง เพื่อขจัดเศษเนื้อตายและแบคทีเรีย
- ใช้น้ำยาทำความสะอาดแผล ( น้ำเกลือนอร์มัล) หรือน้ำยาฆ่าเชื้อล้างแผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผลติดเชื้อจากการปนเปื้อน
- กำจัดเศษเนื้อตายและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เพราะเป็นแหล่งให้แบคทีเรียเจริญได้ดี จึงควรตัดเล็บออกให้หมด และเซลล์ใหม่จะงอกขยายเจริญมาปกคลุมแผลได้ดี
- กำจัดช่องหรือโพรงที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง เนื่องจากช่องหรือโพรงมักมีสารคัดหลั่งจากแผลซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ดีของ แบคทีเรีย จึงควรทำการอุดช่องหรือโพรงอย่างหลวมๆ ด้วยก๊อสหรือวัสดุที่เหมาะสม
- อธิบาย ให้คำแนะนำ รวมทั้งให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยและญาติ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการพริกตะแคงตัวและการทำความสะอาดแผล
สนสใจสอบถาม-ปรึกษาเพิ่มเติมไม่เสียค่าใช้จ่าย
TEL 090-569-7945