จำนวนสมาชิก : 11 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-10-22
จำนวนครั้งที่ชม : 1,464,874 ครั้ง
Online : 63 คน
ยินดีต้องรับเข้าสู่ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ แสนสิริ โฮม แคร์ | ทุกวัน 8.00 - 20.00 | Call Center : 090-569-7945 , 096-405-1562 | Map & Locations |
|
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2016-02-24
จำนวนสมาชิก : 11 คน ปรับปรุงเมื่อ : 2024-10-22 จำนวนครั้งที่ชม : 1,464,874 ครั้ง Online : 63 คน Health บทความสุขภาพ
สมาชิก
|
กลืนลำบาก 2017-11-14 15:06:08 ใน เรื่องน่ารู้ในผู้สูงอายุ » 0 4341
ภาวะกลืนลำบาก หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยประสบความยากลำบากในการเริ่มต้นกลืนอาหาร หรือความยากลำบากในการเคลื่อนอาหารหรือของเหลว จากปากให้ผ่านคอหอย และหลอดอาหารไปสู่กระเพาะอาหาร อาการที่บ่งชี้ว่าอาจมีภาวะกลืนลำบาก ได้แก่ ไม่สามารถกลืนได้ มีอาหารตกค้างกระพุ้งแก้ม รู้สึกเจ็บขณะกลืน มีน้ำลายไหล เสียงแหบเครือหลังการกลืน อาหารไหลย้อนกลับออกทางปาก และไอหรือสำลักขณะกลืน เป็นต้น
ก่อนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูแก้ไขปัญหาการกลืน ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนว่า ปัญหานั้นเกิดขึ้นในระยะใดของขั้นตอนการกลืน ซึ่งมีทั้งหมด 3 ระยะ ได้แก่
• ระยะช่องปาก (Oral phase) เป็นระยะของการบดเคี้ยวและคลุกเคล้าอาหารกับน้ำลายภายในช่องปาก ทำให้อาหารชิ้นเล็กลงเหมาะกับการกลืน โดยมีลิ้นช่วยในการเคลื่อนย้ายอาหารจากช่องปาก ไปยังคอหอยและหลอดอาหาร
• ระยะคอหอย (Pharyngeal phase) เป็นระยะที่เกิดขึ้นหลังจากอาหารผ่านต่อมทอนซิลลงมายังคอหอย กล้ามเนื้อหลายมัดบริเวณคอหอยจะถูกกระตุ้นให้ทำงานร่วมกัน โดยหดตัวรับอาหารต่อจากลิ้นแล้วส่งต่อไปยังหลอดอาหาร ในระยะนี้หลอดลมจะถูกปิดกั้นชั่วขณะ เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารไหลเข้าสู่หลอดลมและปอด
• ระยะหลอดอาหาร (Esophageal phase) เป็นระยะที่หลอดอาหารจะบีบตัวและลำเลียงอาหารไปสู่กระเพาะอาหาร เพื่อทำการย่อยต่อไป
ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่มักมีปัญหาในระยะช่องปาก หรือระยะช่องปากร่วมกับระยะคอหอย ในกรณีนี้นักกิจกรรมบำบัดสามารถให้การแก้ไขฟื้นฟูได้ ยกเว้นในรายที่เกิดปัญหาในระยะหลอดอาหาร เช่น หลอดอาหารตีบ จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง
การบำบัดฟื้นฟู
โดยทั่วไปการบำบัดฟื้นฟู สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ การบำบัดฟื้นฟูทางตรง และการบำบัดฟื้นฟูทางอ้อม
• การบำบัดฟื้นฟูทางตรง เช่น การฝึกบริหารกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ควบคุมริมฝีปาก ลิ้น และขากรรไกรได้ไม่ดี เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ตัวอย่างท่าบริหารดังกล่าว ได้แก่ อ้าปากกว้าง แลบลิ้น เม้มริมฝีปากแน่นแล้วคลายออก ทำปากจู๋สลับฉีกยิ้ม เป็นต้น
• การบำบัดฟื้นฟูทางอ้อม เช่น การดูแลด้านโภชนาการ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสารอาหารและน้ำ เนื่องจากในการฝึกกลืนระยะแรกๆ ผู้ป่วยอาจไม่สามารถรับประทานอาหารได้อย่างเพียงพอ เพราะรับประทานได้น้อยในแต่ละมื้อ จึงควรจัดให้ผู้ป่วยรับประทานอาหาร 5-6 มื้อต่อวัน และอาจพิจารณาเสริมอาหารทางการแพทย์ร่วมด้วย อาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก ควรเป็นอาหารที่มีการดัดแปลงเนื้ออาหาร โดยพิจารณาจากลักษณะอาการของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ในกรณีที่ผู้ป่วยเพิ่งเริ่มรับประทานอาหารทางปาก หรือไม่สามารถเคี้ยวอาหารหยาบได้ อาหารควรเป็นอาหารที่ได้รับการปั่นจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน เหมือนอาหารเด็ก ช่วยให้กลืนได้ง่าย เช่น โจ๊กปั่นข้น โยเกิร์ตครีม ไข่ตุ๋น ฟักทองบด กล้วยขูด เป็นต้น อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงอาหารเหลว และอาหารที่มีเนื้ออาหารหลายรูปแบบ เพราะทำให้สำลักได้ง่าย เมื่อผู้ป่วยเริ่มเคี้ยวได้บ้าง อาจปรับอาหารเป็นโจ๊กข้น ข้าวต้มข้นๆ หรือไข่ลวก ซึ่งเราสามารถปรับเปลี่ยนหรือดัดแปลงรูปแบบอาหารได้ โดยพิจารณาจากพัฒนาการด้านการกลืนของผู้ป่วย
ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดจะเป็นผู้ให้คำแนะนำในส่วนนี้ นอกจากนี้อาจมีการปรับท่าทาง ดูว่าท่าทางแบบใด ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลืนอาหารได้ง่ายที่สุด ซึ่งต้องมีการทดสอบดูก่อนว่าท่าใดที่จะช่วยให้ผู้ป่วยตอบสนองต่อการกลืนได้ง่ายที่สุด
จากการเก็บข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดฟื้นฟูจะมีภาวการณ์กลืนที่ดีขึ้นกว่า 50% บางรายสามารถกลับมารับประทานอาหารได้ตามปกติอีกครั้ง ในขณะที่บางรายสามารถเปลี่ยนจากการรับประทานโจ๊ก มาเป็นข้าวสวยนิ่มๆ ได้ สำหรับระยะเวลาในการบำบัดจนเห็นพัฒนาการจะอยู่ที่ประมาณ 6-8 สัปดาห์ ทั้งนี้ต้องอาศัยความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้ป่วย บวกกับความร่วมมือจากญาติผู้ดูแลร่วมด้วย ซึ่งปัญหาที่พบในการดูแลผู้ป่วยฝึกกลืน คือ การที่ผู้ดูแลแอบป้อนอาหารที่ถูกห้ามให้กับผู้ป่วยด้วยความสงสาร จุดนี้นับว่าเป็นอันตรายมาก เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยสำลัก เกิดปัญหาปอดติดเชื้อตามมาจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลกันมาหลายรายแล้ว จึงอยากให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้การรักษาอย่างเคร่งครัด ทั้งหมดนี้ก็เพื่อประโยชน์ของตัวผู้ป่วยเอง
|
|