JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0
 ยินดีต้องรับเข้าสู่ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ แสนสิริ โฮม แคร์  ทุกวัน 8.00 - 20.00   |   Call Center : 090-569-7945 , 096-405-1562   |   Map & Locations
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2016-02-24
จำนวนสมาชิก : 11 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-02-25
จำนวนครั้งที่ชม : 1,191,507 ครั้ง
Online : 25 คน

ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Aphasia)

2018-01-20 22:28:16 ใน เรื่องน่ารู้ในผู้สูงอายุ » 0 16664

                                                             

ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Aphasia)


       ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาจากสมองพิการ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อะเฟเซีย (Aphasia: การเสียการสื่อความ)” เป็นความบกพร่องของการสื่อสารเนื่องจากการมีพยาธิสภาพของสมองที่ควบคุมการพูดและภาษา ความผิดปกติทางภาษาและการพูดมักเกิดร่วมกับโรคอัม พาตซีกขวาในคนที่ถนัดมือขวา แต่เนื่องจากสมองส่วนที่เป็นศูนย์กลางการพูดและภาษา (Speech and language center) อยู่ที่สมองซีกซ้ายซึ่งควบคุมการทำงานของอวัยวะซีกขวา ดังนั้นการกล่าวถึงสมองที่เกี่ยวข้องกับภาษาและการพูดจึงหมายถึงสมองซีกซ้ายในคนถนัดขวา
 

สมองพิการเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง เช่น หลอดเลือดในสมองตีบตัน (Cerebral thrombosis) หลอดเลือดในสมองมีลิ่มเลือดอุดตัน (Cerebral embolism) หลอดเลือดในสมองแตกหรือการตกเลือดในสมองหรือสมองได้รับอุบัติเหตุ (Head injury) เช่น สมองได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือจากการกระทบกระเทือนจากผ่าตัดเอาเลือดคั่งหรือเนื้องอกในสมองออก 
 

ในปัจจุบันยังไม่มียาที่ช่วยความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Aphasia)  มีการให้ยาเพื่อรักษาตามอาการและตามสาเหตุของโรค เช่น ให้ยาขยายหลอดเลือดในกรณีที่ผู้ป่วยมีหลอดเลือดในสมองตีบตัน การให้ยาละลายลิ่มเลือดในกรณีที่ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองมีลิ่มเลือดอุดตัน ทำการผ่าตัด เอาก้อนเลือดในสมองออกในกรณีผู้ป่วยมีหลอดเลือดสมองแตก มีการตกเลือดในสมองหรือสมองได้รับอุบัติเหตุ เป็นต้น

การรักษาด้วยการฟื้นฟูบำบัดเป็นทีม (Team) สหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ การฝึกพูด กายภาพ บำบัด กิจกรรมบำบัด ฯลฯ รวมทั้งความตั้งใจของตัวผู้ป่วยเองและบุคคลในครอบครัวเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นหลักในการช่วยฟื้นฟูด้านการพูด ความเข้าใจ การสื่อสารในครอบครัว และในชีวิตประจำวัน ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของกำลังแขน ขา ซึ่งการรักษาเพื่อการฟื้นฟู ควรรักษาที่รงพยาบาลใกล้บ้าน ไม่ควรเปลี่ยนโรงพยาบาลบ่อย หรือเดินทางไปรักษายังโรงพยาบาลไกลๆ เพราะการรักษาต้องทำอย่างต่อเนื่องในระยะยาว และวิธีรักษามักไม่แตกต่างกันมาก

 

การช่วยเหลือและส่งเสริมการสื่อสารสำหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางการพูดและทางภาษา

 

การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาจากสมองพิ การ เบื้องต้นควรเข้าใจสภาพจิตใจผู้ป่วย เนื่องจากเคยพูดสื่อสารและทำงานได้อย่างดี แต่ต้องกลายมาเป็นภาระต่อครอบครัว
และทำอะไรด้วยตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วยต้องการเวลาในการปรับตัว และต้องการกำลังใจจากบุคคลใกล้ชิด ครอบครัวจึงควรปฏิบัติตัวและให้การช่วยเหลือผู้ป่วย ดังนี้

  1. ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาทั้งด้านความเข้าใจและการพูด ให้เน้นฝึกด้านความเข้าใจก่อน
  2. เรียกผู้ป่วยให้ฟังและสนใจก่อนสอนพูด กระตุ้นให้ผู้ป่วยทำอะไร หรือให้ตอบคำถามเสมอ
  3. ใช้ท่าทางและการพูดร่วมกันในการสื่อสารกับผู้ป่วย
  4. ใช้คำพูดง่ายๆ สั้นๆ ชัดเจน และมีรูปแบบเดียวกันในการสอนผู้ป่วยระยะแรก เช่น ชี้ตา ชี้หู ชี้ปาก เป็นต้น
  5. รอให้ผู้ป่วยตอบสนองก่อน ประมาณ 5 วินาที แล้วจึงบอกใบ้คำ ตอบ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นการออกเสียงของผู้ป่วย
  6. ช่วยพูดซ้ำๆ ขยายคำพูดของผู้ป่วย ต่อเติมในกรณีที่ผู้ป่วยพูดไม่ชัด พูดสั้นเกินไป
  7. ควรฝึกพูดก่อนฝึกกายภาพบำบัด หรือกิจกรรมบำบัด
  8. ไม่ตกใจเมื่อผู้ป่วยพูดคำหยาบ
  9. กรณีที่ผู้ป่วยหัวเราะ หรือทำอะไรซ้ำๆ ซึ่งอาจเกิดจากการหนื่อยล้า หรือ การฝึกมากเกินที่ผู้ป่วยจะรับได้ ให้ผู้ป่วยพักประมาณ 2-3 นาทีแล้วจึงฝึกต่อ
  10. เวลาในการฝึกพูดแต่ละครั้ง ประมาณ 20-30 นาที วันละประมาณ 3-4 ครั้ง
  11. ทำการประเมิน และวางแผนการฝึกพูด เพื่อรับโปรแกรมการฝึกพูดไปฝึกต่อที่บ้านได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วย และต้องนำผู้ป่วยไปติดตามการประเมินและการฝึกพูดเป็นระยะๆกับนักแก้ไขการพูดตามนัดเสมอ เพื่อปรับโปรแกรมการฝึกพูดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

 
ประเภทของความผิดปกติทางการพูดมี  2  แบบ

  1. การพูดไม่ชัด (Neurological articulation disorders)

            การพูดไม่ชัดจากการบกพร่องของกลไกประสาทที่ควบคุมอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด(Dysarthria)
ทำให้อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดอ่อนแรง เป็นอัมพาต หรือ เกร็ง โดยจะพูดไม่ชัดมากขึ้นถ้าพูดยาวๆ หรือนานๆ ผู้ป่วยอาจมีน้ำลายไหลที่มุมปากด้านใดด้านหนึ่งร่วมด้วยควรรักษาที่สาเหตุ การฟื้นฟูสมรรถภาพการพูดเป็นการรัก ษาลำดับแรกๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงการตรวจประเมิน และการฝึกพูดที่ผู้ดูแลสามารถนำ ไปใช้กับผู้ป่วยได้

 

  การฝึกพูด

 

 
  • การออกกำลังกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการพูด
    • การฝึกกิจกรรมการเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด ซ้ำๆ เร็วๆ ชัดๆ จนเหนื่อย แล้วพัก 2-3 นาที/กิจกรรม และทำกิจกรรมใหม่ต่อ โดยพิจารณาความสามารถของผู้ป่วยเป็นเกณฑ์ กิจกรรมเหล่านี้ ได้แก่ การออกเสียง อา–อู อู–อี อา–อี ลัน ลัน ลัน ลา เปอะ-เตอะ-เกอะ เพอะ-เทอะ–เคอะ กระดกลิ้นซ้ำๆ
  • การฝึกพูดที่เรียงลำดับให้ชัดเจน ความสำคัญ คือการนับเลข
    • การท่องชื่อวันใน 1 สัปดาห์
    • การท่องชื่อ 12 เดือนใน 1 ปี
    • การท่องสูตรคูณ
    • การท่องพยัญชนะ ก–ฮ
    • การอ่านหนังสือออกเสียง
    • การถามตอบ
  • ในรายที่พูดเสียงเบา พูดประโยคสั้นๆแล้วเสียงหายไป ควรฝึกสูดลมหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ แล้วลากเสียงสระยาวๆ อา อู อี โอ เอ แอ ออ เออ อือ สลับกัน
  • การฝึกพูดกับบุคคลใกล้ชิด คนในครอบครัว และคนในสังคม และควรนำผู้ป่วยเข้าสังคมตามปกติ ไปซื้อของเพื่อให้มีการฝึกพูด และพัฒนาการพูดในบริบทที่เป็นธรรมชาติ

2. การพูดไม่ชัดแบบมีความบกพร่องของสมองที่ควบคุมโปรแกรมการพูด(Aprasia of speech:AOS)
 

               ทำให้การเรียบเรียงลำดับตำ แหน่งอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดบกพร่อง ผู้ป่วยจะพูดไม่ชัดโดยไม่พบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด การพูดไม่ชัดจะเกิดขึ้นในคำหรือวลี หรือประโยคที่ตั้งใจจะพูด แต่ในบางครั้งจะพูดได้ชัดเมื่อไม่ตั้งใจจะพูด  การรักษาควรที่สาเหตุ การฟื้นฟูสมรรถภาพการพูดเป็นการรักษาลำดับแรกๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงการตรวจประเมินและการฝึกพูดที่ผู้ดูแลสามารถนำ ไปใช้กับผู้ป่วยและญาติที่มีปัญหาดังนี้

การฝึกพูด

 

 
-การฝึกกิจกรรมการเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด เช่น อ้าปาก ยิงฟัน ทำปากจู๋ เผยอปาก ฯลฯ
-การฝึกกิจกรรมการออกเสียงสระในพยางค์ง่ายๆ เช่น อา อู อี โอ เอ แอ ออ เออ
-ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ ที่ใช้ริมฝีปาก เช่น มอ ปอ พอ บอ เม เป เพ เบ ฯลฯ
-ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะต้นอื่นๆ เช่น ดา ตา ทา ชา จา กา คา งา ฯลฯ
-ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ 2 พยางค์ที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน เช่น อาอู อีเอ แอเออ ฯลฯ
-ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ 2 พยางค์ที่มีพยัญชนะต้นต่างกัน เช่น มาอู อีเบ แปเพอ ฯลฯ
-ฝึกการออกเสียงพูดคำที่มีความหมาย 1 2 3 พยางค์ วลี ประโยค ตามลำดับ เช่น มอมแมม แม่มา ปาบอล แม่ปาบอล พี่ทาปากแดง 


โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์
 

ต่อ